
หลังจากเปิดบริการลงทะเบียน “จองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19” ผ่าน หมอพร้อม พบว่าช่วงแรกมีปัญหาในเรื่องของระบบ ไม่ว่าจะเป็น ระบบล่ม บางคนไม่สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ บางคนไม่สามารถลงทะเบียนเนื่องจากรายชื่อตกหล่น ลงทะเบียนไม่ได้เพราะระบบแจ้งว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง ประเมินผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาทั้งหมด แต่ยังพบปัญหารายวันอยู่ดี
แถมยังเกิดคำถามมากมาย เริ่มจาก ลงทะเบียนหมอพร้อมรอบแรกภายได้ถึงเมื่อใด : ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พ.ค.2564 หรือจนกว่าวัคซีนจะมา และสามารถกำหนดวันฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.2564 ส่วนรอบประชาชนทั่วไปนั้นซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายของรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน คาดว่าจะเปิดให้จองสิทธิ์เดือนก.ค. และสามารถฉีดวัคซีนได้ในเดือนส.ค.หรืออาจเร็วกว่านั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนวัคซีนที่เหลือ และการจัดสรรวัคซีนได้เพิ่มเติมหมอพร้อม line
วันที่ 9 ของการเปิดบริการแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม เวอร์ชั่น 2 ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนโควิด-19 ข้อมูลล่าสุด จากเพจหมอพร้อม ณ วันที่ 9 พ.ค.2564 เวลา 08.00 น. พบว่าขณะนี้มีลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนสะสมรวม 1,551,342 ราย แบ่งเป็นการของคิวผ่านแอพฯ “หมอพร้อม” จำนวน 1,254,218 ราย และจองคิวในพื้นที่ผ่านโรงพยาบาล,รพ.สต. และ อสม.จำนวน 297,124 ราย
โดยผู้ที่มีสิทธิลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 รอบนี้ มีทั้งหมด 16 ล้านคน จาก 2 กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 11.7 ล้านคน และผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง 4.3 ล้านคน ซึ่งทุกคนจะได้ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา หมอพร้อม app

วันที่ 8 พ.ค. 2564 นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากข้อกังวลประชาชน หลังคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีสุขภาพดี ซึ่งข้อมูลการวิจัยของประเทศจีนพบว่ามีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ขอชี้แจงว่าประเด็นดังกล่าวเพื่อเป็นการขยายโอกาสให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุดเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ จำกัดวงการแพร่ระบาด ลดการป่วยที่รุนแรง และการเสียชีวิต ระหว่างรอวัคซีนจากแอสตราเซเนกาสำหรับฉีดให้กับคนในประเทศ นอกจากนี้ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่เกษียณอายุแต่ยังคงปฏิบัติงาน นับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สามารถฉีดซิโนแวคได้เช่นกัน
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่าน แพลตฟอร์มหมอพร้อม จะได้รับการฉีดวัคซีนจากแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนหลักของประเทศ เพราะจะมีวัคซีนชนิดนี้ถึง 16 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2564 แอป หมอพร้อม
ยกเว้นในช่วงเดือนพฤษภาคม ที่ไม่มีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีแต่วัคซีนซิโนแวค ทั้งนี้ การฉีดขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ ส่วนวัคซีนอื่น ๆ ที่รัฐบาลพยายามจัดหามานั้น เพื่อให้เกิดความครอบคลุมทุกกลุ่มประชากรให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชน มั่นใจว่าวัคซีนทุกชนิดที่นำมาฉีดให้กับคนในประเทศนั้นมีความปลอดภัย เนื่องจากต้องมีการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาก่อนนำมาฉีดให้กับคนในประเทศ มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด 19 และสิ่งที่คำนึงสูงสุดคือความปลอดภัยของประชาชนจากการฉีดวัคซีน
“ขอให้ประชาชนมั่นใจว่าวัคซีนทุกชนิดที่นำมาฉีดให้กับคนในประเทศนั้นมีความปลอดภัย เนื่องจากต้องมีการศึกษาข้อมูลทางวิชาการ มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาก่อนนำมาฉีดให้กับคนในประเทศ มีกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 และสิ่งที่คำนึงสูงสุดคือความปลอดภัยของประชาชนจากการฉีดวัคซีน” นายแพทย์โสภณ กล่าว หมอพร้อมลงทะเบียนยังไง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก “Yong Poovorawan” ระบุจากการที่นักข่าวถามว่า จะให้พูดหรือมีวิธีอะไรที่จะเชิญชวน ให้คนมา ฉีดวัคซีน ตนได้ตอบไปว่าสิ่งที่สำคัญคนจะมาฉีดหรือไม่ฉีด ขึ้นอยู่กับนักข่าว และสื่อออนไลน์ เพราะจะเห็นว่า นักข่าวเองจะเสนอข่าว และชอบข่าวที่เป็นเรื่องร้าย ที่มีความจริงเพียง 20% แต่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจผิด โดยมีความเห็นแถมเข้าไปให้เป็นร้อยเปอร์เซ็นต์
เช่น การเสียชีวิตหลัง ฉีดวัคซีน จะเป็นข่าวใหญ่โตมาก ทั้งที่การ ฉีดวัคซีน เป็นล้านคน และทั่วโลกเป็นพันล้านคน เป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีเสียชีวิต หลัง ฉีดวัคซีน ทั้งที่เมื่อพิสูจน์แล้วการเสียชีวิตนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ วัคซีน เป็นการเสียชีวิตจากเหตุใดก็ได้ ที่เกิดขึ้นหลังการ ฉีดวัคซีน จะมีการลงข่าวใหญ่โต เมื่อมีอาการข้างเคียงของวัคซีน แต่เมื่อพิสูจน์แล้วไม่ได้เกิดจากวัคซีน ก็ไม่ได้มีการลงข่าวแก้ให้เลยหมอพร้อมแอป
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า กลุ่มคนที่จะได้ฉีด มีดังนี้
- กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม จะได้รับการฉีด วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (เป็นวัคซีนหลักของประเทศ)
- วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีจำนวน 16 ล้านโดสในเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคม 2564
- วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ถูกยกเว้นในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากไม่มีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีแต่วัคซีนซิโนแวค
วัคซีนซิโนแวค กลุ่มคนที่จะได้ฉีด มีดังนี้
- บุคลากรทางการแพทย์ที่เกษียณอายุ
- ผู้สูงอายุ ในพื้นที่ระบาดหนัก
สำหรับประชาชนที่กำลังเตรียมจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อควรรู้ที่ต้องเตรียมตัว มีดังนี้
1. ตรวจสอบสภาพร่างกายตนเอง
– ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
– หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ ก่อนวันที่มารับวัคซีน
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ
– ตรวจสอบสภาพร่างกายว่ามีความพร้อมรับการฉีดวัคซีนหรือไม่ เช่น ไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการเจ็บป่วย หากมีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีน ควรแจ้งขอเลื่อนการฉีดออกไปก่อน
2. สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน
– มีโรคประจำตัว
– มีประวัติการแพ้ยา หรือ วัคซีน
– ตั้งครรภ์
3. ก่อนออกจากบ้าน อย่าลืมตรวจสอบ
– วัน / เวลา / สถานที่นัดฉีดวัคซีน (ควรไปถึงสถานที่ฉีดก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที)
– เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน